Nara Rice
คุณค่าทางโภชนาการ
ข้าวไรซ์เบอรี่ อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารสูง โดยคุณประโยชน์ที่เด่นชัดที่สุดจะพบได้ในน้ำมันรำข้าว และรำข้าว มีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระได้ดี อุดมไปด้วยโฟเลจในปริมาณสูง นอกจากนั้นยังอุดมไปด้วยสารอาหารอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายหลายชนิด ได้แก่ เบต้าแคโรทีน, แกมมาโอไรซานอล, วิตามินอี, วิตามินบี 1, ลูทีน, แทนนิน, สังกะสี, โอเมก้า 3, ธาตุเหล็ก, โพลีฟีนอล และเส้นใย เป็นต้น ซึ่งสารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยในการ บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงระบบประสาท ลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ช่วยป้องกันโรคต่างๆ ได้อย่างมากมาย อาทิ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหลอดเหลือด โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคสมองเสื่อม และโรคโลหิตจาง มีส่วนช่วยในการสร้างคอลลาเจน ช่วยชะลอความแก่ ลดระดับไขมัน และคอเรสเตอรอลได้
ข้าวเหนียว (sticky rice หรือ glutinous rice) มี ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Oryza sativa var. glutinosa) เป็นข้าว (rice) ที่มีลักษณะเด่นคือเนื้อสัมผัสของข้าวซึ่งมีการติดกันระหว่างเมล็ดของข้าวที่หุงสุกแล้ว เป็นข้าวที่มีปริมาณอะไมโลเพกทิน (amylopectin) สูงเมื่อเปรียบเทียบกับข้าวเจ้า หลักๆ ข้าวเหนียวมี 2 สี คือ สีขาว และ สีดำ (คนเหนือเรียกว่า”ข้าวก่ำ”) ข้าวเหนียวดำ หรือข้าวก่ำจะมีรงควัตถุ (สารสี) ได้แก่ แอนโทไซยานิน (anthocyanin) Oligomeric Proanthocyanidin Complexes (OPC) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) โดยสารโอพีซีที่พบในข้าวเหนียวดำ เป็นสารชนิดเดียวกับสารสกัดที่ได้จากองุ่นดำ องุ่นแดง และเปลือกสน ซึ่งสารโอซีพีมีประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง
สมัยก่อนข้าวเหนียว จะนิยมปลูก และรับประทานกันมากทางภาคอีสานของประเทศไทย แต่ในปัจจุบันไม่ว่าจะภาคไหนๆ ต่างก็นิยมรับประทานข้าวเหนียว โดยเฉพาะกับเมนูยอดนิยมอย่าง ส้มตำ ลาบ น้ำตก และไก่ย่าง ที่จะทุกร้านอาหารประเภทนี้จะต้องมีข้าวเหนียวเป็นเครื่องเคียงเสิร์ฟคู่เสมอ
นอกเหนือจากการบริโภคข้าวเหนียวโดยตรงแล้ว ยังมีการนำข้าวเหนียวมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสุราพื้นเมือง การผลิตแป้งข้าวเหนียวเพื่ออุตสาหกรรมอาหารและขนมขบเคี้ยวอีกด้วย